การตรวจสุขภาพก่อนมีบุตร เป็นการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าที่สำคัญก่อนสร้างครอบครัว ซึ่งว่าที่คุณแม่ควรเผื่อเวลาเตรียมความพร้อมล่วงหน้าประมาณ 3 เดือน เพื่อให้การตั้งครรภ์มีความเสี่ยงน้อยที่สุดและให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งวิธีดูแลสุขภาพและการเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตรจะต้องทำอย่างไรบ้าง มาดูกันเลย
1. ตรวจสุขภาพก่อนมีบุตร
ว่าที่คุณแม่ควรเริ่มปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจเช็กว่าตนเองมีภาวะมีบุตรยากหรือไม่ โดยควรตรวจสุขภาพก่อนมีบุตรที่ครอบคลุมตั้งแต่
- การตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อตรวจดูสุขภาพของมดลูกและรังไข่ โรคหรือภาวะบางอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการตั้งครรภ์ไม่ว่าจะเป็นเนื้องอกมดลูก ช็อกโกแลตซีสต์ที่รังไข่ ประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นต้น รวมไปถึงตรวจดูการทำงานของรังไข่ว่ามีการตกไข่ตามปกติหรือไม่
- การตรวจดูความพร้อมการเจริญพันธุ์ โดยจะเป็นการตรวจเลือดเพื่อหาระดับฮอร์โมนที่มีผลต่อการทำงานของรังไข่และความสมดุลของฮอร์โมน ได้แก่
- AMH การทดสอบคุณภาพรังไข่
- E2 (Estradiol) ฮอร์โมนพื้นฐานของเพศหญิง
- P4 ฮอร์โมนสำหรับการตั้งครรภ์
- LH ฮอร์โมนธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นจากต่อมใต้สมองและทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่
- Prolactin (PRL) ฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง ช่วยควบคุมวงจรของประจำเดือน กระตุ้นให้เกิดการสร้างและหลั่งน้ำนมหลังการคลอด
- FSH ทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์ไข่ให้พร้อมสำหรับการสืบพันธุ์
- การตรวจเลือด เพื่อตรวจดูโรคติดต่อทางพันธุกรรมที่สามารถส่งผลไปถึงลูกน้อยได้ โดยตรวจดูความเข้มข้นของเม็ดเลือด ตรวจภูมิหัดเยอรมัน ระดับน้ำตาลในเลือด เชื้อ HIV รวมถึงโรคทางพันธุกรรมแฝงอย่างโรคธาลัสซีเมียที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
2. การฉีดวัคซีน
อีกหนึ่งการเตรียมความพร้อมที่สำคัญนอกเหนือจากการตรวจสุขภาพก่อนมีบุตรโดยทั่วไปแล้ว ว่าที่คุณแม่ควรศึกษาว่าวัคซีนตัวไหนควรได้รับหรือหลีกเลี่ยงก่อนตั้งครรภ์หรือไม่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อรุนแรงและลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ โดยวัคซีนที่ควรได้รับ มีดังนี้
- วัคซีนป้องกันโรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคคางทูมและอีสุกอีใส โดยควรได้รับก่อนการตั้งครรภ์ 3 เดือน
- วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยฉีดกระตุ้นปีละ 1 ครั้ง หากยังไม่เคยรับวัคซีนนี้และมีการระบาดที่รุนแรงสามารถฉีดวัคซีนขณะตั้งครรภ์ได้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก
- วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หากตรวจสุขภาพก่อนมีบุตรแล้วควรฉีดวัคซีนให้ครบ 3 เข็มก่อนการตั้งครรภ์
- วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ A และ B
3. ตรวจเช็กยาประจำตัวของตนเอง
หากว่าที่คุณแม่ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพก่อนมีบุตร ควรพกยาประจำตัวของตนเองไปให้แพทย์ดูด้วยว่ายาเหล่านี้มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ หรือหากทานยาคุมกำเนิดอยู่ควรหยุดทานเพื่อให้การตกไข่อยู่ในภาวะปกติ
4. ดูแลสภาพจิตใจ
นอกจากจะต้องตรวจสุขภาพก่อนมีบุตรอย่างละเอียดแล้ว ว่าที่คุณแม่ควรดูแลสุขภาพจิตใจของตนเองให้ดีด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดหรือว้าวุ่นใจมากจนเกินไป เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อฮอร์โมนในร่างกายและการตั้งครรภ์ด้วย จึงควรพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสถานการณ์ตึงเครียดทั้งภายในและภายนอกครอบครัว รวมถึงหมั่นออกกำลังกายเบาๆ และยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลายและกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
5. การดูแลสุขภาพช่องปาก
สุขภาพในช่องปาก อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ว่าที่คุณแม่ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนมีบุตรประมาณ 5 เดือน เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อภายในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นอาการฟันผุ เหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ เนื่องจากสุขภาพภายในช่องปากมีผลต่อคุณภาพชีวิตขณะตั้งครรภ์และสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ เช่น เด็กทารกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์หรือการคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น
ดังนั้น จุดเริ่มต้นที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างครอบครัวที่สมบูรณ์ คือการตรวจสุขภาพก่อนมีบุตร ทั้งการตรวจสุขภาพทั่วไป การตรวจเลือดโดยละเอียด รวมถึงการดูแลสภาพจิตใจของว่าที่คุณแม่ เพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีโรคแทรกซ้อนหรืออันตรายระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงการทำประกันสุขภาพที่คุ้มครองเด็กเล็กและแรกเกิด เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่บุตรในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วยและอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก อีกทั้งยังเป็นเงินออมเพื่ออนาคตของบุตรอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันมีแผนประกันสุขภาพสำหรับเด็กเล็กและเด็กแรกเกิดหลากหลายแผน สามารถเปรียบเทียบและเลือกได้ผ่านช่องทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ของ Rabbit Care หรือโทรสอบถามเจ้าหน้าที่ โทร 1438 ได้ตลอด 24 ชั่วโม